การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment EIA)

1. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.1 นิยาม

EIA : Environmental Impact Assessment
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA)   คือ กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษา เรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.2 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 27 ก 19 เมษายน 2561 

มาตรา ๓ ให้แก้ไขคําว่า  “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม”  ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๓๕  เป็น  “รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” ทุกแห่ง ดังนั้น ต่อไปนี้ “ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” จะเป็น “ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม”

“การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า  กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการหรือกิจการหรือการดําเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดําเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ  คุณภาพสิ่งแวดล้อม  สุขภาพ  อนามัย  คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน  ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกําหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว  ผลการศึกษา  เรียกว่า  รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

“อนุญาต” หมายความว่า  การที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐยินยอมให้บุคคลใดกระทําการใด ที่มีกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับความยินยอมก่อนกระทําการนั้น  และให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต  การอนุมัติ การจดทะเบียน  การขึ้นทะเบียน  การรับแจ้ง  การให้ประทานบัตร  และการให้อาชญาบัตรด้วย

“ผู้ดําเนินการ” หมายความว่า  เจ้าของโครงการหรือกิจการหรือการดําเนินการที่ต้องจัดทํา รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา  ๔๘  และให้หมายความรวมถึงผู้จัดการของ นิติบุคคลอาคารชุดสําหรับทรัพย์ส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด  และผู้จัดสรรที่ดินหรือ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรสําหรับสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วย การจัดสรรที่ดินด้วย

1.3 ประโยชน์ของ EIA

ใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา ช่วยพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ สามารถแน่ใจว่าได้คาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญอันเกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย ช่วยเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long – term sustainable development )

EIA เป็นการใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนา ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารว่าสมควรดำเนินการหรือไม่ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากได้รับการนำมาในการวางแผนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการไปแล้ว และเป็นวิสัยทัศน์ของนักบริหารโครงการที่มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข

1.4 ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1. การกลั่นกรองโครงการ
2. การจัดทำรายงาน
3. การพิจารณารายงาน
4. การติดตามตรวจสอบ

2. การพิจารณารายงาน EIA

2.1 รูปแบบของรายงาน EIA

รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบ ได้แก่
1) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)
2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)
3) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental and Health Impact Assessment : EHIA)

2.2 ขั้นตอนการพิจารณารายงาน EIA

2.3 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ๙ คณะ

1) ขั้นตอนการพิจารณารายงาน EIA สำหรับโครงการเอกชนที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการรัฐที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
2) ขั้นตอนการพิจารณารายงาน EIA สำหรับโครงการรัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการร่วมกับเอกชนที่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)

2.4 รายชื่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จำนวน ๒๒ คณะ ประกอบด้วย

1) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ (ลิงก์  เอกสารไฟล์แนบ)
2) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
3) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
4) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคที่สนับสนุน (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
5) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมี (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
6) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพลังงาน (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
7) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเหมืองแร่ (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
8) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาปิโตรเลียม (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)
9) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน (ลิงก์ เอกสารไฟล์แนบ)

ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564

รายชื่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการคำสั่งประธานฝ่ายเลขานุการ
1. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม5/2564ลสผ.สผ.
2. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ3/2564ลสผ.สผ.
3. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ4/2564ลสผ.สผ.
4. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

5/2564

ลสผ.สผ.
5. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภคที่สนับสนุน6/2564ลสผ.สผ.
6. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมี7/2564ลสผ.สผ.
7. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบโครงการพลังงาน8/2564ลสผ.สผ.
8. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบโครงการเหมืองแร่9/2564ลสผ.สผ.
9. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาปิโตรเลียม10/2564ลสผ.สผ.
10. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบโครงการอาคาร การจัดสรรที่ดิน
และบริการชุมชน
11/2564ลสผ.สผ.
11.   คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน กรุงเทพมหานคร
12/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร
(สำนักสิ่งแวดล้อม)
12.   คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จังหวัดปทุมธานี
13/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีทสจ.ปทุมธานี
13. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จังหวัดนนทบุรี
14/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีทสจ.นนทบุรี
14. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ
15/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการทสจ.สมุทรปราการ
15. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
16/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ทสจ.เชียงใหม่
16. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดกระบี่
17/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ทสจ.กระบี่
17. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต
18/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตทสจ.ภูเก็ต
18. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดพังงา
19/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาทสจ.พังงา
19. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
20/2564

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทสจ. สุราษฎร์ธานี

20. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดเพชรบุรี
21/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีทสจ.เพชรบุรี
21. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
22/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทสจ.ประจวบคีรีขันธ์
22. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดชลบุรี
23/2564ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีทสจ.ชลบุรี

หมายเหตุ 

1. แต่งตั้งตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2558) ลงวันที่ 23 มีนาคม 2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
2. แต่งตั้งตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2558) ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภคที่สนับสนุน ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
3. แต่งตั้งตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2559) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน

2. กำหนดความหมายของคำย่อ ดังนี้
สผ. : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ลสผ. : เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทสจ. : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด